เมนู

อ้อนวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงโอวาทพวก
ข้าพระองค์เถิด ดังนี้บ้าง เพราะเหตุนั้น พระศาสดาเมื่อจะตรัสบอกภาระที่ทน
ไม่ได้แก่พวกอุบาสกเหล่านั้น จึงตรัสแล้วอย่างนี้. คำว่า น โข ปเนตํ
ตัดบทเป็น น โข เอตํ แปลว่า นั่นหามิได้แล. ก็ น อักษรในคำว่า นโข
ปเนตํ
นั้น พึงทราบว่าเป็นเพียงพยัญชนะสนธิเท่านั้น. คำว่า ตสฺมา
ความว่า เพราะฉะนั้น บัดนี้ ท่านทั้งหลาย พึงขอโอวาทในภูมิของตนเถิด.
จบอรรถกถาธรรมทินนสูตรที่ 3

4. คิลายนสูตร



ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ 4 ประการ



[1627] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้น ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรมของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำจีวรสำเร็จแล้ว จัก
เสด็จหลีกไปสู่ที่จาริกโดยล่วง 3 เดือน พระเจ้ามหานามศากยราช ได้ทรง
สดับข่าวว่า ภิกษุมากรูปการทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยหวังว่า
พระมีพระภาคเจ้าทรงทำจีวรเสร็จแล้ว จักเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริกโดยล่วง
3 เดือน ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ยิน
มาว่า ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยหวังว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงทำจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริกโดยล่วง 3 เดือน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้หม่อมฉันยังไม่ได้ฟัง ยังไม่ได้รับมา เฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อุบาสกผู้มีปัญญาพึงกล่าวสอนอุบาสก ผู้มี
ปัญญาผู้ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก.
[1628] พ. ดูก่อนมหาบพิตร อุบาสกผู้มีปัญญาพึงปลอบอุบาสก
ผู้มีปัญญาผู้ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ
4 ประการว่า ท่านจงเบาใจเถิด ท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน
พระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... มีศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว
ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ.
[1629] ดูก่อนมหาบพิตร อุบาสกผู้มีปัญญา ครั้นปลอบอุบาสก
ผู้มีปัญญา ผู้ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ
4 ประการนี้แล้ว พึงถามอย่างนี้ว่า ท่านมีความห่วงใยในมารดาและบิดาอยู่
หรือถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เรายังมีความห่วงใยในมารดาและบิดาอยู่ อุบาสก
นั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านผู้เช่นกับเรา ซึ่งมีความตายเป็นธรรมดา
ถ้าแม้ท่านจักกระทำความห่วงใยในมารดาและบิดา ก็จักตายไป ถ้าแม้ท่าน
จักไม่กระทำควานห่วงใยในมารดาและบิดา ก็จักตายไปเหมือนกัน ขอท่าน
จงละความห่วงใยในมารดาและบิดาของท่านเสียเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า
เราละความห่วงใยในมารดาและบิดาของเราแล้ว.
[1630] อุบาสกนั้นพึงถามเขาอย่างนี้ว่า ก็ท่านยังมีความห่วงใยใน
บุตรและภริยาอยู่หรือ ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เรายังมีความห่วงใยในบุตรและ
ภริยาอยู่ อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขา อย่างนี้ว่า ท่านผู้เช่นกับเรา ซึ่งมีความ
ตายเป็นธรรมดา ถ้าแม้ท่านจักกระทำความห่วงใยในบุตรและภริยา ก็จักตายไป
ถ้าแม้ท่านจักไม่กระทำความห่วงใยในบุตรและภริยา ก็จักตายไปเหมือนกัน

ขอท่านจงละความห่วงใย ในบุตรและภริยาของท่านเสียเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้
ว่า เราละความห่วงใยในบุตรและภริยาของเราแล้ว.
[1631] อุบาสกนั้นพึงถามเขาอย่างนี้ว่า ท่านยังมีความห่วงใยใน
กามคุณ 5 อันเป็นของมนุษย์อยู่หรือ ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เรายังมีความ
ห่วงใยในกามคุณ 5 อัน เป็นของมนุษย์อยู่ อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า
กามอันเป็นทิพย์ดีกว่าประณีตกว่ากามอันเป็นของมนุษย์ ขอท่านจงพรากจิต
ให้ออกจากกามอันเป็นของมนุษย์ แล้วน้อมจิตไปในพวกเทพชั้นจาตุมหาราช
เถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากกามอันเป็นของมนุษย์แล้ว
จิตของเราน้อมไปในพวกเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว.
[1632] อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า พวกเทพชั้นดาวดึงส์
ดีกว่าประณีตกว่าพวกเทพชั้นจาตุมหาราช ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจาก
พวกเทพชั้นจาตุมหาราช แล้วน้อมจิตไปในพวกเทพชั้นดาวดึงส์เถิด ถ้าเขา
กล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพวกเทพชั้นจตุมหาราชแล้ว จิตของเรา
น้อมไปในพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า พวก
เทพชั้นยามาดีกว่าประณีตกว่าพวกเทพชั้นดาวดึงส์... พวกเทพชั้นดุสิต
ดีกว่าประณีตกว่าพวกเทพชั้นยามา... พวกเทพชั้นนิมมานรดีดีกว่าประณีต
กว่าพวกเทพชั้นดุสิต... พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีดีกว่าประณีตกว่า
พวกเทพชั้นนิมมานรดี... พรหมโลกดีกว่าประณีตกว่าพวกเทพชั้นปรนิม
มิตวสวัตตี ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตี แล้ว
น้อมจิตไปในพรหมโลกเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพวกเทพ
ชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว จิตของเราน้อมไปในพรหมโลกแล้ว.
[1633] อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
แม้พรหมโลกก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ยังนับเนื่องในสักกายะ ขอท่านจงพรากจิต

ให้ออกจากพรหมโลก แล้วนำจิตเข้าไปในความดับสักกายะเถิด ถ้าเขากล่าว
อย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพรหมโลกแล้ว เรานำจิตเข้าไปในความดับ
สักกายะแล้ว ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพไม่กล่าวถึงความต่างอะไรกันของ
อุบาสก ผู้มีจิตพ้นแล้วอย่างนี้ กับภิกษุผู้พ้นแล้วตั้งร้อยปี คือ พ้นด้วย
วิมุตติเหมือนกัน.
จบคิลายนสูตรที่ 4

อรรถกถาคิลายนสูตร



พึงทราบอธิบายในคิลายนสูตรที่ 4.
คำว่า น โข ปเนตํ ความว่า เหตุนั้น อันข้าพระองค์ทั้งหลาย
หามิได้แล. พระโสดาบัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เอาว่า อุบาสก
ผู้มีปัญญา. คำว่า ด้วยธรรม เป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ความว่า ด้วยธรรม
ทั้งหลายที่ทำความเบาใจ. คำว่า อสฺสาสตายสฺมา แปลว่า ท่านจงเบาใจ.
คำว่า ท่านผู้เช่นกับเรา ได้แก่ ผู้เนื่องเฉพาะความตาย. คำว่า มีความตาย
เป็นธรรมดา ได้แก่ มีความตายเป็นสภาพ. คำว่า ขอท่านจงละ ได้แก่
จงเว้น คำว่า ละแล้ว ได้แก่ หยุดแล้ว
คำว่า ผู้มีจิตพ้นแล้วอย่างนี้ ความว่า ผู้มีจิตอันพ้นแล้ว ด้วย
การพ้นคืออรหัตผลอย่างนี้. คำว่า พ้นด้วยวิมุตติเหมือนกัน ความว่า
ความต่างกันแห่งวิมุตติ เพราะปรารภจิตที่พ้นแล้วนี้ใด อันจะพึงกล่าว เราไม่
กล่าวความต่างกันนั้น. ขึ้นชื่อว่า ประมาณในคุณเป็นที่มา คือ ในวัตรที่ลาน